หลายคนมีญาติที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง อาหารสุขภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะทราบกันดีว่า โรคไตเรื้อรังนี้หากไม่ควบคุมเรื่องของการรับประทานอาหาร อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ซึ่งโรคไตเรื้อรัง คือภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะยาว มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ จนกว่าจะถึงระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว โดยมักจะสังเกตพบระยะแรกๆ ได้จากการทดสอบปัสสาวะหรือเลือด โดยอาการทั่วไปของโรคไต ผู้ป่วยจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ตามข้อมือ เท้า หรือมือ มีอาการบวม (เนื่องจากการบวมน้ำ) มีอาการหายใจลำบาก คลื่นไส้ มีเลือดปนปัสสาวะ โรคไตเรื้อรัง สามารถถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ
โดยไต จะมีหน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียที่เลือดผลิตออกมาและเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้กลายเป็นปัสสาวะ ไตจะช่วยคงระดับความดันเลือด คงค่าระดับสารเคมีในร่างกายและช่วยให้หัวใจกับกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติ โดยจะผลิตวิตามิน D ที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง สำหรับอาหารที่เป็นประโยชน์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะมีการสูญเสียกรดอะมิโน และการฟอกเลือดยังกระตุ้นให้มีการสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งในโปรตีน จะช่วยในการเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันโรค ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมจึงต้องรับประทานเนื้อหมู ไก่ ปลา และไข่ขาวให้เพียงพอ เพราะนอกจากใช้ในการเสริมสร้างร่างกายแล้ว ยังต้องชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการฟอกเลือดแต่ละครั้งอีกด้วย เพื่อผลดีต่อร่างกาย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ต้องฟอกเลือด เรื่องของการรับประทาน อาหารสุขภาพ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไป จะส่งผลต่อร่างกายและอาการป่วยโดยตรง ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกกินอาหารประเภทข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้ว เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสน้อยลง เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักมีปัญหาการมีฟอสฟอรัสอยู่สูง จึงต้องจำกัดปริมาณที่กิน อาหารที่มีฟอสฟอรัสอยู่มากคือ เมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง
ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กล่าวมาข้างต้น เพราะการสะสมฟอสฟอรัสในร่างกายมากๆ จะมีผลต่อระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และวิตามินดี ทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ และอาการกล้ามเนื้ออ่อนเพลียได้ง่าย รวมไปถึงการดื่มน้ำ ก็ต้องระวัง ถึงแม้ว่าการดื่มน้ำจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแล้ว หากไม่ควบคุมปริมาณน้ำ อาจจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ และอาจจะเกิดภาวะบวมน้ำด้วย สำหรับปริมาณน้ำที่กล่าวมานั้นรวมไปถึงอาหารที่เป็นของเหลวด้วย อย่างไรก็ตาม อาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีรสเค็ม เพราะการรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือเค็มนั้น จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการกระหายน้ำมากขึ้น
อาหารสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการฟอกเลือด ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/