ผู้เขียน หัวข้อ: motor show: Toyota, Honda, Mazda, Suzuki ยอมรับว่าโกงผลการทดสอบมาตรฐานรถยนต์ พร้  (อ่าน 123 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 369
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
motor show: Toyota, Honda, Mazda, Suzuki ยอมรับว่าโกงผลการทดสอบมาตรฐานรถยนต์ พร้อมยุติการผลิตรถรุ่นนั้น

หลังจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการทดสอบความปลอดภัยของ Daihatsu กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (MLIT) ของญี่ปุ่น ได้สอบสวนเพิ่มเติมจนเจอกรณีที่คล้ายกันตั้งแต่ปี 2014
 
โดย Toyota, Honda, Mazda, และ Suzuki ยอมรับว่าพวกเขาโกงผลทดสอบในรถบางรุ่น มีผลทำให้รถรุ่นนั้น ๆ ที่อยู่ในตลาด ต้องหยุดการผลิต การขนส่ง รวมถึงการจำหน่ายทันที
 

Toyota  ทั้งหมด 7 รุ่น
 
เริ่มต้นที่ Toyota ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ยอมรับว่าส่งข้อมูลเท็จในการทดสอบความปลอดภัยของคนเดินเท้าและผู้โดยสารสำหรับ Corolla Fielder, Corolla Axio และ Yaris Cross (รุ่นที่ขายในยุโรป) ซึ่งยังอยู่ในสายการผลิต นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมยังพบว่ามีการดัดแปลงผลทดสอบการชนสำหรับรุ่นที่เลิกผลิตแล้ว ได้แก่ Crown, Isis, Sienta, และ Lexus RX รวมทั้งหมด 7 รุ่น
 
แม้จะเกิดปัญหานี้ขึ้น Toyota กล่าวว่า รถที่ได้ผลกระทบนั้นได้รับการตรวจสอบภายในและได้ยืนยันการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยทั้งหมดแล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าเจ้าของรถที่ได้ผลกระทบไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติม

 
Mazda 4 รุ่น
 
สำหรับ Mazda ได้เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ควบคุมเครื่องยนต์ของ MX-5 RF และ Mazda 2 hatchback ได้รับการปรับจูนใหม่ระหว่างการทดสอบอย่างเป็นทางการ บริษัทยังมีการดัดแปลงที่ไม่เหมาะสมในการทดสอบการชนของ Atenza (Mazda 6), และ Axela (Mazda 3 BM) ที่เลิกผลิตไปแล้ว แม้ว่าจะยืนยันว่ารุ่นที่ผลิตจริงนั้นผ่านมาตรฐานความปลอดภัยแล้วก็ตาม

 
Honda ทั้งหมด 22 รุ่น
 
ส่วน Honda มีการสอบสวนภายในเผยให้เห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงผลการทดสอบเสียงรบกวนของรถที่เลิกผลิตไปแล้วทั้งหมด 22 รุ่น ได้แก่ Inspire, Fit, Fit Shuttle, Shuttle, CR-Z, Acty, Vamos, Stepwgn, Legend, Accord, Insight, Exclusive, CR-V, Freed, N-Box, N-One, Odyssey, N-Wgn, Vezel, Grace, S660, Jade, และ NSX
 
 
Suzuki มีเพียงรุ่นเดียว
 
ในกรณีของ Suzuki มีการเปลี่ยนผลการทดสอบเพียงรุ่นเดียวคือ Alto รุ่นที่เป็น LCV เจเนอเรชั่นก่อนที่จำหน่ายระหว่างปี 2014 - 2017 โดยพบว่าระยะเบรคที่ระบุไว้ในผลการทดสอบนั้นสั้นกว่าระยะที่วัดได้จริง
 
ข้อมูลจาก Suzuki ระบุว่า แรงกดที่แป้นเบรคระหว่างการทดสอบนั้นไม่มากพอที่จะผ่านมาตรฐาน แต่เนื่องจากต้องทำตามกำหนดเวลา พวกเขาจึงต้องแก้ไขตัวเลขโดยสมมติว่าตัวรถสามารถทำได้ดีกว่านี้
 
 
รอดูว่าทางการญี่ปุ่นจะดำเนินการอย่างไร
 
ขณะนี้ทางการญี่ปุ่นได้ดำเนินการสอบสวนเพื่อยืนยันว่าผู้ผลิตรถได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับรถที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ดังกล่าวยังได้รับคำสั่งให้ให้ข้อมูลและช่วยเหลือเจ้าของที่ได้รับผลกระทบตามความจำเป็น
 
การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลให้การผลิต การขนส่ง และการจำหน่ายต้องยุติลงสำหรับรุ่นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เราคงต้องรอดูกันว่าทางการญี่ปุ่นจะจัดการตามกฎได้รวดเร็วแค่ไหน รวมถึงมีบทลงโทษที่เหมาะสมหรือไม่