เกณฑ์การเลือก ฉนวนกันความร้อนที่ดี ฉนวนกันความร้อน ผลิตจากวัสดุ Polyolefin คุณภาพสูง ด้วยเทคโนโลยี Physically Cross-linked PE (IXPE) (กระบวนการผลิตไร้สารเคมี เทคโนโลยีร่วมระหว่างออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) เป็นการยิงลำแสง Electron พลังงานสูง เพื่อให้โมเลกุลละเอียด และกระจายตัวได้ดี ทำให้เกิดความหนาแน่นสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น โดยฉนวนกันความร้อนมีจุดเด่น ดังนี้
ลดความร้อนได้สูงสุด ด้วยค่า K-value 0.031 W/mK
ค่านำความร้อน (K) ต่ำ ค่าต้านความร้อนสูง®
มีโครงสร้างคล้ายรังผึ้ง ช่องว่างภายในเป็น Close Cell และเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ความร้อน ความชื้น และน้ำ ไม่สามารถซึมผ่านได้
หมดห่วงเรื่องความร้อนสะสมในอาคาร
ป้องกันความชื้น และไม่เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อรา และแบคทีเรีย
ไร้สารพิษ สารตกค้าง
ไม่มีส่วนผสมของ PVC และฟอร์มาดีไฮด์ ปลอดภัยต่อสุขภาพ
ได้รับ Greenstar จาก Green Building Council ประเทศออสเตรเลีย
เป็นฉนวนกันความร้อน 1 เดียวในอาเซียน และออสเตรเลีย ที่ผลิตด้วยกระบวนการ Physically Cross-linked (IXPE)
ไม่ลามไฟ และไม่เกิดควันพิษ ได้การรับรองผ่านมาตรฐาน BS467, UL94, ASTM E84 และ ISO 5659
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดสาร CFC, HCFCs ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ติดตั้งง่าย ทั้งระบบ Metal Strip และ Wire Mesh
แข็งแรง ทนทาน พร้อมรับประกัน 12 ปี (เจ้าอื่นรับประกัน 10 ปี)
ติดตั้งง่าย (นิยมติดตั้งร่วมกับหลังคาเหล็ก และหลังคาเมทัลชีท)
ความแตกต่างกระบวนการ Physically Cross-linked PE (IXPE)
ไร้สารเคมี และสารเติมแต่ง
Low VOCs ได้รับ Greenstar
ความหนาแน่นสม่ำเสมอ
ค่าดูดซับน้ำต่ำ ป้องกันน้ำได้ดีกว่าฉนวนกันความร้อนทั่วไป
ความแตกต่างกระบวนการ Chemical cross-linked PE (XPE)
ใช้สารเคมี
High VOCs และใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) จำนวนมาก
ความหนาแน่นไม่สม่ำเสมอ
ป้องกันน้ำได้น้อยกว่ากระบวนการไร้สารเคมี
เกณฑ์การเลือกฉนวนกันความร้อนที่ดี
การเลือกวัสดุฉนวนค่าความร้อนถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยค่ามาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา มีดังนี้
ค่า R สูง: ค่าต้านความร้อน Thermal Resistance (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
ค่า K ต่ำ: ค่าสภาพการนำความร้อนของวัสดุ Thermal Conductivity
ค่า U ต่ำ: ค่าการส่งผ่านความร้อน Thermal Transmittance
โดยเกณฑ์การเลือกฉนวนกันความร้อนที่ดี ควรเลือกค่า K-value ต่ำ หรือ R สูง จึงจะถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ที่ได้การรับรองจาก TÜV และกรมวิทยาศาตร์บริการกระทรวง
ซึ่งเป็นการทดสอบที่ตรงตามลักษณะการใช้งานฉนวนมากที่สุด และจากผลการทดสอบพบว่าไม่มีหยดลามไฟ ไม่ลามไฟ และไฟสามารถดับได้เอง
นอกจากนี้ คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน ที่สามารถป้องกันน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเมื่อฉนวนดูดซึมน้ำ จะทำให้กันความร้อนได้น้อยลง
หรือหากมีจุดรั่วซึมบนหลังคา ฉนวนที่กันน้ำได้ดี จะช่วยให้เห็นจุดรั่วต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งหากเป็นฉนวนที่กักเก็บความชื้น อาจทำให้เกิดแหล่งสะสมของเชื้อรา และแบคทีเรีย
วิธีการจัดเก็บฉนวนกันความร้อน ที่ถูกต้อง สามารถทำได้ดังนี้
วางฉนวน ไว้ในแนวตั้ง ไม่วางซ้อนกัน
เก็บวัสดุในบรรจุภัณฑ์ บริเวณที่แห้ง มีหลังคาคลุม และมีพาเลตรองรับ
ควรระมัดระวังการสัมผัสกับแหล่งกำเนิดเปลวไฟ หรือแหล่งความร้อนสูง
ขนย้ายด้วยการยก ไม่กลิ้ง หรือลากวัสดุไปตามพื้น
หากขนย้ายในที่สูง ควรเลือกใช้กระเช้าในการขนย้าย