ผู้เขียน หัวข้อ: ขนาดของสายยางให้อาหารมีผลต่อผู้ป่วยหรือไม่ ? ในการให้ อาหารสายยาง  (อ่าน 11 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 418
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
ขนาดของสายยางให้อาหารมีผลต่อผู้ป่วยหรือไม่ ? ในการให้ อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์วิธีหนึ่งซึ่งเป็นการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ และผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวรวมไปถึงผู้ป่วยที่นอนติดเตียง การให้อาหารทางสายยางนั้น ต้องทำโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง ทั้งนี้ การให้อาหารทางสายยางมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจะต้องเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้อาหารให้พร้อม และจะต้องล้างมือทุกครั้งก่อนทำการให้อาหารทำสายยาง สำหรับการให้อาหารทางสายยางนั้น มีอุปกรณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะให้อาหาร สายยางให้อาหารเป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้เรื่องอุปกรณ์และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เพราะสายยางให้อาหารนั้นมีหลายขนาดด้วยกัน ซึ่งจะต้องใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ถ้าหากสายยางให้อาหารมีขนาดเล็กเกินไป ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้รับอาหารช้าหรืออาจทำให้ท้องอืดได้ และหากสายยางให้อาหารมีขนาดใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับอาหารเร็วเกินไป ทำให้สามารถอาเจียนได้หรอสำลักอาหารที่ได้รับเร็วเกินไปได้ ขนาดที่ใหญ่เกินไปอาจจะสามารถเบียดหลอดลมทำให้หายใจไม่สะดวกเช่นกัน ซึ่งปัญหาในเรื่องดังกล่าวนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้หรือไหวพริบในการแก้ไขปัญหา เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

สำหรับสายยางให้อาหาร ขนาดเล็กนั้น มีขนาด 5-8 French Nasogastric tubes (NG tubes) เหมาะสำหรับการ feed ให้อาหารทางสายยาง แต่บาง evidence แนะนำว่า ขนาดของสายและการวางตำแหน่งของสายเป็นสิ่งสำคัญ โดยแนะนำให้วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก เป็นหน่วย French (1 French unit =0.33 mm) พบว่า สายยางให้อาหารขนาดใหญ่ มีขนาดมากกว่า 14 French สะดวกให้อาหาร/ยา และยังสามารถวัด gastric pH และ residual volume ได้ และสายยางให้อาหารขนาดเล็ก มีขนาด 5-12 French นิยมใส่ลงสู่กระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็ก เช่น NJ tubes สายขนาดเล็กสามารถลดความรำคาญของผู้ป่วยได้ แต่มีโอกาสเกิดการอุดตันได้ง่าย

ซึ่งผู้ดูแลจะต้องเลือกใช้ชนิดของสายยางให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ดูว่าสภาพร่างกายของผู้ป่วยเหมาะจะใช้สายยางชนิดไหน เพื่อให้เกิดความสะดวกและไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ และต้องเลือกใช้ให้ถูกกับตำแหน่งของการให้อาหารทางสายยางด้วย อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งของ NJ tubes ควรได้รับการตรวจสอบโดยการ X-ray ภายในเวลา 8-12 ชั่วโมงหลังใส่ และควร test pH aspiration techniques ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะที่ใส่สายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีการรับรู้ได้ดีและรู้สึกตัว ผู้ดูแลควรจะแจ้งวัตถุประสงค์ในการใส่สายยางให้อาหารให้ผู้ป่วยได้ทราบด้วย เพราะการใส่สายยางเข้าสู่ร่างกายนั้น มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง นอกจากจะเป็นการแจ้งให้ผู้ป่วยได้ทราบถึงวัตถุประสงค์แล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดความกังวลขณะใส่สายยางเข้าสู่ร่างกายด้วย

สำหรับเรื่องของการดูแลสายยางให้อาหาร ผู้ดูแลควรเปลี่ยน NG tubes และ NJ tubes ทุก 4-6 สัปดาห์ ผู้ดูแลควรสังเกตสายยางให้อาหารของผู้ป่วยว่ามีลักษณะอย่างไร หากเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือสายมีสภาพที่บวม หมดสภาพแล้ว หรือมีสีที่เปลี่ยนไปค่อนข้างเห็นได้ชัด ควรทำการเปลี่ยนสายยางให้อาหารให้ผู้ป่วยทันที เพื่อสุขลักษณะที่ดีด้วย นอกจากนี้การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ควรมีการ feed ในปริมาณที่เหมาะสม ควรให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร 30 ml/kg/day of standard 1 kcal/ml และความถี่ในการ feed ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย จะทำให้อาหารจะไม่เหลือค้าง และปิ้งกันการเกิดการสำลึกอาหารของผุ้ป่วยด้วย ซึ่งการสำลักอาหารนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากเลยทีเดียว ผู้ดูแลควรระมัดระวังเรื่องนี้ให้มากเป็นพิเศษ และต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ

ในกรณีที่ผู้ป่วยต้อง on ETF กลับบ้าน ควรให้คำแนะนำเรื่องการให้อาหารทางสายยางและการดูแลเครื่องมือ อุปกรณ์ในการให้อาหารด้วย และเปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3 วัน หรือเมื่อหลุด หรือเมื่อเปรอะเปื้อนทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ ระมัดระวังสายยางอย่าให้เกิดการเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังเกตด้วย เพื่อให้สายยางให้อาหารอยู่ในตำแหน่งเดิม