ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: สาเหตุและแนวทางการควบคุมเสียงในโรงงาน  (อ่าน 197 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 371
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาเสียงเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดในโรงงานอุตสาหกรรม ต่างจากปัญหาเสียงรบกวนภายนอกโรงงานหรือเสียงทางสิ่งแวดล้อมในเรื่องการสะท้อนของเสียง (Reverberation) เนื่องจากพื้นที่แหล่งกำเนิดเสียงในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องหรืออาคารแบบปิด (Enclosed Area) ที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีผิวเรียบมันและสะท้อนเสียงได้ดี เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นเคลือบผิวอีพ็อกซี่ ผนังก่ออิฐฉาบปูนหรือผนังโลหะผิวมัน ฝ้าเพดานฉาบเรียบหรือหลังคาโลหะแผ่น เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของเสียงในอาคารของโรงงานอุตสาหกรรม (หากไม่รวมเรื่องความสั่นสะเทือนหรือ structure-borne noise) จะประกอบไปด้วย

1. เสียงจากแหล่งกำเนิด (Direct Sound)

คือเสียงที่เกิดขึ้นจากการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรนั้นโดยตรง เช่น เสียงของเครื่องย่อยวัตถุดิบ เสียงการลำเลียงขวดบนสายพาน เสียงของระบบนิวเมติก เสียงของเครื่องสับ เสียงของท่อลำเลียงวัสดุ เสียงของคอมเพรสเซอร์ เสียงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เสียงของพัดลมอุตสาหกรรม และเครื่องจักรอื่นๆ


2. เสียงจากการสะท้อน (Reverberant Sound)

เมื่อคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดไปกระทบกับพื้น ผนัง หลังคา หรือส่วนอื่นๆของอาคารที่มีผิวเรียบ จะก่อให้เกิดการสะท้อนของเสียงส่งผลให้เกิดการเสริมกันของคลื่นเสียง (Constructive Wave) และทำให้แอมพลิจูดเสียงเพิ่มขึ้นหรือมีระดับความดันเสียงเพิ่มขึ้น


แนวทางการควบคุมเสียงหรือการลดระดับเสียง ทำได้โดย

1. การควบคุมที่แหล่งกำเนิด (Source Control)

คือการทำให้แหล่งกำเนิดเสียงมีระดับความดันเสียงลดลง เช่น การดัดแปลงเครื่องจักร การเปลี่ยนกระบวนการทำงาน การเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น การเปลี่ยนความถี่เสียง การแก้ปัญหาความสั่นสะเทือน การปรับรอบหรือแรงดัน การคุมรอบด้วยอินเวอร์เตอร์ ฯลฯ เป็นวิธีที่ควรทำเป็นลำดับแรก (หากทำได้) เนื่องจากเป็นการลดเสียงที่ต้นเหตุโดยตรงและลดปัญหาการสะท้อนของเสียงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


2. การควบคุมที่ทางผ่านเสียง (Path Control)

เมื่อการลดเสียงที่แหล่งกำเนิดโดยตรงไม่สามารถทำได้ (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม) การลดเสียงที่ทางผ่านจะเป็นอีกแนวทางที่ต้องพิจารณา เช่น การติดตั้งตู้ครอบลดเสียง (Sound Enclosure) การใช้ผนังกันเสียง (Noise Barrier) การติดตั้งม่านกันเสียง (Acoustic Curtain) ก็ให้ผลในการลดเสียงที่ดีเช่นกัน แต่ระดับการลดลงของเสียงอาจจะไม่เท่ากัน โดยการใช้ตู้ครอบแบบปิดหมด (Full Enclosure) จะลดเสียงได้ดีที่สุด (ประมาณ 30-40 dBA) รองลงมาคือตู้ครอบแบบปิดบางส่วน (Partial Enclosure) เนื่องจากมีช่องที่เปิดไว้สำหรับระบายความร้อนหรือเป็นทางเข้าออกของชิ้นงาน จึงทำให้ประสิทธิภาพในการกันเสียงไม่สูงมากนัก (ประมาณ 10-12 dBA ขึ้นอยู่กับช่องเปิด) ส่วนผนังกันเสียงและม่านกันเสียงจะใช้ได้ผลดีในพื้นที่ที่มีเสียงสะท้อนน้อยกว่าเสียงจากแหล่งกำเนิด (โดยส่วนใหญ่ลดเสียงได้ในช่วง 5-10 dBA สำหรับสถานการณ์จริง)


3. การลดเสียงสะท้อน (Reverberation Control)

สำหรับกรณีที่ไม่สามารถควบคุมเสียงที่แหล่งกำเนิดและทางผ่านเสียงได้ การลดเสียงสะท้อนในพื้นที่จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อลดพลังงานเสียงลง โดยมีแนวทางคือการลดเวลาการสะท้อนของเสียง (Reverberation Time) ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 25-30 จากเวลาการสะท้อนของเสียงก่อนปรับปรุง (เช่น จาก 3 นาที เหลือ 1 นาที) การลดเสียงสะท้อนสามารถทำได้โดยการติดตั้งวัสดุดูดกลืนเสียง (Sound Absorbent) ภายในห้องหรือพื้นที่ที่ต้องการลดเสียงสะท้อน ส่วนการจะติดตั้งวัสดุคิดเป็นร้อยละเท่าไรของพื้นที่นั้น สามารถคำนวณได้จากสมการของซาบิน (Sabine’s Equation)


สรุปแนวทางการควบคุมเสียงในโรงงาน

ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงต้องชี้บ่งให้ได้ก่อนว่าปัญหาเสียงเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงงานนั้น มีสาเหตุมาจากแหล่งกำเนิดเสียงหรือการสะท้อนของเสียงมากกว่ากัน จึงจะสามารถออกแบบแนวทางการลดเสียงที่มีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากทั้งสองสาเหตุที่กล่าวมา มีวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน โดยทาง บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญรวมถึงผ่านการอบรมเรื่องการควบคุมเสียงและความสั่นสะเทือนในอุตสาหกรรมมาโดยตรง จึงมั่นใจได้ว่าปัญหาเสียงในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการจะได้รับการแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประหยัดทั้งงบประมาณ เวลา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นตามมาในภายหลัง

ฉนวนกันเสียง: สาเหตุและแนวทางการควบคุมเสียงในโรงงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/