ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาจากการให้อาหารสายยางที่ต้องระมัดระวัง  (อ่าน 135 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 375
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาจากการให้อาหารสายยางที่ต้องระมัดระวัง
« เมื่อ: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2023, 17:03:29 น. »
การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลืนอาหารได้ปกติหรือมีภาวะการเจ็บป่วยบริเวณลำคอ ซึ่งต้องบอกว่าโดยปกติแล้วร่างกายเรามีความต้องการสารอาหาร เพื่อที่จะได้ขับเคลื่อนร่างกายต่อไปได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยก็มีความต้องการสารอาหารเหมือนกันและถ้าหากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารและอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ และที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางนั้น จะต้องได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง


ถึงแม้ว่าร่างกายจะไม่สามารถกลืนอาหารได้ตามปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา การให้อาหารทางสายยาง หลายคนเคยได้ยินหรือเคยเห็นตามโรงพยาบาล หรือตามบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งผู้ป่วยเหล่านั้น ถึงแม้จะไม่รู้จักตัวหรือไม่สามารถกลืนอาหารได้ ก็ยังต้องการสารอาหารที่จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หลายคนก็มีผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ที่บ้านและต้องให้อาหารทางสายยาง ซึ่งการให้อาหารทางสายยาง จำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย


เพราะถ้าหากผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง อาจจะทำให้เกิดปัญหาและเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยได้ ดังนั้น ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการให้อาหารทางสายยาง รู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันถ่วงที หากเกิดปัญหาระหว่างการให้อาหารทางสายยาง เช่น เกิดการติดขัดของสายยางให้อาหาร ผู้ป่วยเกิดสำลักอาหารระหว่างการให้อาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยในการให้อาหารทางสายยาง สำหรับวันนี้ ทางเราจะมาพูดถึงปัญหาจากการให้อาหารทางสายยางที่ผู้ดูแลควรจะระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่รุนแรงตามมา

สำหรับปัญหาที่มักพบได้บ่อยที่เกิดระหว่างการให้อาหารทางสายยาง ก็คือ การติดขัดของสายยางให้อาหาร ซึ่งปัญหาในข้อนี้มักจะเกิดเนื่องจากอาหารปั่นผสมที่นำมาให้ผู้ป่วยมีความหนืดเกินไป ทำให้อาหารเกิดการติดขัดอยู่ใยสายยาง ดังนั้น อาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วยจะต้องผ่านการควบคุมของนักโภชนาการ เพราะสูตรอาหารนั้น นักโภชนาการจะเป็นผู้คำนวณในเรื่องของปริมาณน้ำและวัตถุดิบที่ทำให้อาหารปั่นผสมมีความเหลวที่พอดี สามารถเคลื่อนผ่านสายยางได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เกิดการติดขัด และที่สำคัญขนาดของสายยางในการให้อาหารทางสายยางจะต้องมีความพอดี การปล่อยอาหารเข้าสู่สายยางก็ต้องอยู่ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้อาหารได้เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะอาหารได้อย่างไม่ติดขัด วิธีที่ป้องกันปัญหาที่เกิดจากการติดขัดของสายยางให้อาหารที่ดีที่สุดคือ อาหารจะต้องมีความเหลวที่พอดีนั่นเอง


ต่อมาคือปัญหาการสำลักอาหารของผู้ป่วยขณะให้อาหารทางสายยาง ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาที่มักพบได้บ่อยและผู้ดูแลจะต้องระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะการสำลักอาหารของผู้ป่วย เป็นเรื่องที่อันตรายมาก อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และถ้าหากอาหารเข้าสู่ปอดก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ การสำลักอาหารหรืออาเจียนในขณะที่กำลังให้อาหารทางสายยางจะทำให้ปลายสายให้อาหารเลื่อนออกมาอยู่ในหลอดอาหารหรือเข้าไปในหลอดลม ดังนั้น ผู้ดูแลจะต้องทดสอบปลายสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเหลวเข้าไปในหลอดลมหรือหลอดอาหาร และถ้าผู้ป่วยยังมีอาหารสำลักอาหารอยู่ ควรหยุดการให้อาหารทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การสำลักอาหารในขณะที่ให้อาหารทางสายยาง ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการค่อยๆให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย เพราะการให้อาหารทางสายเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหาร อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารได้นั่นเอง

ปัญหาที่กล่าวมาทั้งสองเคสนี้ ถือเป็นปัญหาที่มักพบได้บ่อย และผู้ดูแลควรที่จะระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะถ้าหากแก้ไขปัญหาไม่ทันถ่วงทีอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้น การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องทำโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ รวมไปถึง ขั้นตอนการประกอบอาหารทางสายยาง ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะต้องควบคุมและออกแบบสูตรอาหารโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารทางสายยาง เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัย ทางเรามีทั้งนักโภชนาการที่มีความงามเชี่ยวชาญ คอยดูแลทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การประกอบอาหาร การคำนวณสูตรอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีคุณภาพและสะอาด ปลอดภัยมากที่สุด

 

ปัญหาจากการให้อาหารสายยางที่ต้องระมัดระวัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/