ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ที่คนเป็นเบาหวานต้องรู้!  (อ่าน 183 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 382
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ที่คนเป็นเบาหวานต้องรู้!
« เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2024, 14:03:17 น. »
ทำความเข้าใจ โรคเบาหวานคืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร ?

โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เมื่อฮอร์โมนอินซูลินขาดร่างกายจึงหยิบเอาน้ำตาลออกไปใช้งานได้น้อยลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กระทบต่อสุขภาพระยะยาวจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 10 ของวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ อัตรา 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนเบาหวานอีกที เพราะอาการในระยะเริ่มต้นแสดงออกไม่ชัดเจน โรคเบาหวานจึงเปรียบเสมือนภัยเงียบที่พร้อมจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตและอาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตได้


ชนิดของโรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด

1.    เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) เบาหวานชนิดนี้เป็นความผิดปกติจากการขาดอินซูลิน ซึ่งเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินออกมาได้ ทำให้ร่างกายขาดระบบที่ทำหน้าที่เอาน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายเพื่อไปเผาผลาญและใช้เป็นพลังงาน และก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ โดยเบาหวานชนิดนี้มักพบเจอได้บ่อยในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวเบาหวาานชนิดที่ 1 และ 2 ต่างกันอย่างไร

2.    เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) เบาหวานชนิดนี้เป็นเบาหวานที่พบได้มากที่สุด เกิดจากภาวะการดื้ออินซูลิน ร่วมกับการขาดอินซูลิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายตอบสนองกับอินซูลินได้ไม่ดี ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักเพราะต้องสร้างอินซูลินให้มากขึ้น แต่ร่างกายก็ยังคงมีภาวะขาดอินซูลินในระดับหนึ่งอยู่ดี โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของเบาหวานชนิดนี้มักมาจากกรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน

3.    เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นเบาหวานที่จะตรวจพบได้เฉพาะตอนตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนมากร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้หลังคลอดแล้ว แต่ก็ทำให้คนกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนนิดที่ 2 ในอนาคตได้เช่นกัน

4.    เบาหวานชนิดอื่นๆ สำหรับเบาหวานชนิดนี้มักเป็นเบาหวานที่เกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคของต่อมไร้ท่อ หรือภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ที่ส่งผลต่อการทำงานของอินซูลินนั่นเอง

สำหรับระยะที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน หรือ ระยะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) จะตรวจพบระดับค่าน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 - 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มสูงกว่าคนปกติ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์โรคเบาหวาน แต่ถ้าหากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่ามีค่าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป นั่นแสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานเข้าแล้ว

ซึ่งนอกจากการตรวจน้ำตาลในเลือดยังมีอาการที่สามารถสังเกตเบื้องต้นได้เช่นกัน


ชวนเช็กอาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน

โดยส่วนมากอาการของโรคเบาหวาน มักจะแสดงออกให้เห็นได้ ดังนี้

    คอแห้ง หิวน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อยผิดปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ
    หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลดลงและอ่อนเพลียไม่มีแรง
    ปวดหัว เวียนหัวและมีตาพร่ามัว
    มีอาการชาตามปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า
    เป็นแผลแล้วหายยาก

หากคุณเริ่มมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้เข้ารับการตรวจหาความเสี่ยงของโรคเบาหวาน เพื่อคัดกรองและทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานที่ทำให้เสี่ยงต่อชีวิตได้ 


ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน มักพบเจอได้ 2 ประเภท

แม้เบาหวานจะเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ง่าย ตรวจคัดกรองได้โดยการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน รวมถึงมียาฉีดอินซูลินที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กลับไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป จึงมักมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานตามมา โดยแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้

    ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง ร่วมกับภาวะกรดคีโตนคั่ง (Ketone) มีสัญญาณอันตรายที่พบได้ คือ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกง่าย อ่อนเพลีย หรือ​คลื่นไส้อาเจียน​ หายใจหอบลึก แม้อาการจะดูเหมือนความเจ็บป่วยฉับพลันโดยทั่วไปแต่ก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เกิดในระยะยาว โดยส่วนใหญ่มักเป็นความเสื่อมของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต ตา และหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน โดยเฉพาะบริเวณต้นขา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานนั่นเอง


3 ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานที่ควรเฝ้าระวัง !

การตรวจหาความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนเบาหวานจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ สามารถพบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงแรกและป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ก่อนสายเกินแก้ โดยมี 3 ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่ควรเฝ้าระวังดังนี้


1. เบาหวานขึ้นตา

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติทำให้หลอดเลือดในจอประสาทตาถูกทำลาย​ โดยเกิดได้ทั้งจากการโป่งพองหรือตีบตันของเส้นเลือด​ ส่งผลให้จอประสาทตาเกิดการขาดเลือดและเกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ การเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อภายในลูกตาที่มีหน้าที่รับแสงและภาพนั้นจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงแบบเรื้อรัง กลายเป็นภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่จอประสาทตา หรือที่หลายๆ คนเรียกว่าเบาหวานขึ้นตา ส่งผลให้เกิดปัญหาในการมองเห็น โดยระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน​ ต่อมาจะเริ่มมองเห็นมีจุดสีดำลอยไปมาในอากาศ​ ร่วมกับการมองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งหากปล่อยไว้จะมีโอกาสตาบอดได้ในที่สุด การตรวจวินิจฉัยได้เร็วก่อนพบภาวะเบาหวานขึ้นตารุนแรง​และได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานลดความเสี่ยงที่จะตาบอดลงได้


2. เบาหวานกับโรคไต

จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่พบได้มากที่สุดกว่าร้อยละ 40 และ​ เบาหวานเป็นสาเหตุต้นๆ​ของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ระยะแรกผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงออก แต่สามารถตรวจหาความเสี่ยงของโรคได้จากโปรตีนอัลบูมิน หรือไข่ขาวที่รั่วออกมาจากปัสสาวะได้ แม้จะมีปริมาณน้อยเพียง 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน โรคไตจากเบาหวานอาจสังเกตพบอาการปัสสาวะมีฟองและมีอาการบวมได้ในระยะต่อมา ถึงตรงนี้หากยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจส่งผลให้ไตทำงานได้ลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง


3. เบาหวานกับโรคหัวใจ

เบาหวานกับโรคหัวใจเป็นของคู่กัน เพราะการคงระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้หลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจอ่อนแอ แตกง่าย เสื่อมสภาพการทำงานลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นหน้าอกคล้ายจุกเสียด เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด อันเป็นผลมาจากที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นเวลานาน แน่นอนว่าส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสูง แต่ในขณะเดียวกันอาการเจ็บหน้าอกของโรคหัวใจอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานมักไม่ชัดเจน เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกมักเสื่อมสภาพไปด้วย การตรวจและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ที่คนเป็นเบาหวานต้องรู้! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/278