ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มการสร้างแบรนด์เครื่องสำอางต้องรู้จัก 5 สิ่งนี้  (อ่าน 53 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 355
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
มีหลายคนที่สนใจอยากมีแบรนด์เครื่องสำอางเป็นของตัวเองแต่ยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี ขอแนะนำ 5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นคอนเซ็ปต์ การสร้างแบรนด์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ และการกระจายสินค้า เพื่อจุดประกายให้คุณมีความคิดในการอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองค่ะ

สิ่งแรกในการสร้างแบรนด์ที่ต้องรู้จักเลยคือ แนวคิด หรือที่เราได้ยินบ่อยๆ ว่า คอนเซ็ปต์นั่นเอง จะทำให้มองเห็นภาพรวมและแนวทางของแบรนด์ ยิ่งแนวคิดมีความชัดเจนมากก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมาก โดยแนวคิดในการทำแบรนด์เครื่องสำอางจะต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์ Creativity คือ ความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม และนำไปสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ อาจมีที่มาจากความฝัน แนวคิดใหม่ ความท้าทาย

นวัตกรรม Innovation คือ การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ หรือกระบวนการที่มีความแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ เทคโนโลยี หรือโมเดลธุรกิจ

     
นอกจากนี้การคิดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขึ้นมา 1 อย่างนั้นจะต้องตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้จากผลิตภัณฑ์นี้ สามารถสร้างค่านิยมและการรับรู้ (Values & Perceptions) ของแบรนด์ได้ และผลิตภัณฑ์จะต้องมีราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยแนวคิดที่รวบรวมมามีดังนี้


แนวคิดการตลาด Marketing Concept

แนวคิดการตลาดจะสนับสนุนให้เกิดแนวคิดผลิตภัณฑ์ ทั้ง 2 แนวคิดจะมีความสอดคล้องกันและเป็นไปในทางเดียวกัน โดยปัจจุบันความรู้สามารถหาได้ง่ายจากโลกออนไลน์ จึงทำให้ผู้บริโภคมีความรู้ในเครื่องสำอางมากยิ่งขึ้น หากเราจะลงมือสร้างแบรนด์ก็จะต้องมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและการวิจัยการตลาดในปัจจุบันก่อน เพื่อดูสภาพเศรษฐกิจ แนวโน้มตลาดเครื่องสำอาง และคู่แข่ง

Tip:  แนวโน้มตลาดเครื่องสำอาง (Market Trend) จะมีการอัพเดตทุกปี และมีการคาดการณ์ล่วงหน้า 1-5 ปี สามารถใช้ประกอบแนวคิดได้ เพื่อให้ในอนาคตแบรนด์ยังคงอยู่ในตลาด


เมื่อกำหนดเป้าหมายลูกค้า แนวโน้ม และคู่แข่งได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการรู้ต้นทุนและการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งหากไม่มีโรงงานเครื่องสำอางเป็นของตนเอง ก็สามารถมองหาโรงงานที่รับผลิตเครื่องสำอางแบบครบวงจรได้ ทางโรงงานจะเสนอราคาต้นทุนเครื่องสำอางต่อชิ้นเพื่อให้เราตัดสินใจ ซึ่งในต้นทุนนั้นจะรวมมาแล้วจากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าทรัพยากร ค่าเสียเวลา ค่าความเสี่ยง และค่าเสียโอกาส และในเครื่องสำอางจะมีต้นทุนสูตรตำรับที่มีความสำคัญมาก มีการคิดต้นทุนเนื้อผลิตภัณฑ์ต่อ 1 กิโลกรัม และต่อ 1 ชิ้น จากนั้นนำไปคิดรวมกับต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนวัสดุบรรจุ ต้นทุนการบรรจุ เป็นต้น แล้วออกมาเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อ 1 ชิ้น จะทำให้เราได้รู้ว่าต้นทุนเครื่องสำอาง 1 ชิ้นนั้นอยู่ที่ราคาเท่าไร เพื่อที่จะได้กำหนดราคาขายที่ถูกต้อง

     
การพยากรณ์ยอดขายเป็นการคาดการณ์ว่าเครื่องสำอางจะขายได้ทั้งหมดเท่าไร ซึ่งก็คือการลงทุนนั่นเอง ทั้งนี้การลงทุนขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี ยิ่งกำหนดยอดขายไว้มากงบประมาณที่ต้องใช้ก็มากตาม

การโฆษณาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาด มีรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดที่ดึงดูดผู้บริโภค ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และการโฆษณาส่วนมากจะมีค่าใช้จ่ายแต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้การโฆษณาที่ผสานเข้ากับกลยุทธ์ในการขายสินค้าจะช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้มากขึ้น


แนวคิดผลิตภัณฑ์ Product Concept

เป็นแนวคิดที่โฟกัสตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด ผสานเข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆ และต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยมีข้อกำหนดดังนี้

    ชื่อแบรนด์
    ประเภทเครื่องสำอาง เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ, ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เป็นต้น
    ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่จะวางขายต้องเข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ผลิตภัณฑ์พรีเมียมสำหรับลูกค้าที่มีกำลังในการซื้อ ผลิตภัณฑ์มาตรฐานสำหรับลูกค้าตลาดมวลชน (Mass Market)
    เนื้อผลิตภัณฑ์ เช่น ครีม โลชั่น เจล เซรั่ม เป็นต้น และลักษณะของเนื้อ เช่น กลิ่น สี ความหนืด เป็นต้น
    ราคาขายที่เหมาะสม
    หน้าที่ เช่น เพื่อผิวกระจ่างใส
    ค่านิยมการรับรู้
    บรรจุภัณฑ์ เช่น ขวด หลอด สเปรย์ กล่อง รวมไปถึงขนาด สี และชนิดเนื้อบรรจุภัณฑ์
    แบรนด์คู่แข่ง (Benchmark)
    การใช้งาน เช่น เวลาที่ใช้ ใช้อย่างไร เช่น ทาทั่วใบหน้าใช้เป็นประจำทุกวัน เช้า-ก่อนนอน
    ข้อมูลของประเทศที่จะขายสินค้า เช่น  อุณหภูมิ (สูงสุดและต่ำสุด) สภาพภูมิอากาศ เงื่อนไขพิเศษ
    การจัดการสต็อกสินค้า


แนวคิดบรรจุภัณฑ์ Packaging Concept

เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมีความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยจะกำหนดลักษณะบรรจุภัณฑ์จากแนวคิดต่างๆ ก่อนหน้า ได้แก่

    แนวคิดทางการตลาด
    แนวคิดผลิตภัณฑ์
    ขั้นต่ำในการสั่งผลิต
    การใช้งาน
    การออกแบบที่เข้ากันได้กับเนื้อผลิตภัณฑ์และฉลาก
    กล่อง (มีหรือไม่มีก็ได้)
    ต้นทุนค่าบรรจุภัณฑ์


การสร้างแบรนด์คือ กิจกรรมทางการตลาดที่ทำให้ธุรกิจตัวเองเป็นที่รู้จักต่อผู้คนและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง มีโลโก้ สโลแกน หรือแนวคิด ที่ทำให้ผู้คนจำได้ง่าย ยิ่งการสร้างแบรนด์มีความชัดเจนมากผู้คนก็จะมีความเข้าใจ เชื่อถือ และภักดีต่อแบรนด์มากเท่านั้น โดยแบรนด์สามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าของเราได้ ช่วยสนับสนุนการตลาดและการโฆษณา เมื่อลูกค้ามีความผูกพันกับแบรนด์แล้วจะมีการใช้จ่ายซื้อสินค้ามากกว่าลูกค้าทั่วไปถึง 2 เท่า ซึ่งการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ รวมถึงแนวทางของแบรนด์ที่ชัดเจน ยิ่งแบรนด์มีตัวตนมากเท่าไรก็ยิ่งแข็งแกร่งมากเท่านั้น

 

องค์ประกอบแบรนด์ที่ควรมี

โลโก้ Logo: โลโก้เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ สื่อถึงภาพของบริษัท โดยทั่วไปแล้วโลโก้จะมีโทนสี รูปร่าง รูปภาพเฉพาะ หรือจะใช้ชื่อบริษัทเป็นโลโก้ก็ได้

สโลแกน Slogan: สโลแกนคือข้อความสั้นๆ ที่ชัดเจน ซึ่งแสดงถึงค่านิยมหรือแนวคิดของบริษัท

พันธกิจ Mission Statement: คำแถลงความมุ่งประสงค์ของบริษัทหรือองค์การ วิธีที่จะทำให้สิ่งที่แบรนด์ตั้งจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนให้เป็นจริงขึ้นมา

น้ำเสียงของแบรนด์ Brand Voice: น้ำเสียงและลักษณะการพูดที่ใช้สื่อสารกับลูกค้าในช่องทางต่างๆ และต้องมีความเข้ากันกับแบรนด์

     
นอกจากนี้การสร้างแบรนด์ต้องมาก่อนและการตลาดต้องมาทีหลัง โดยกลยุทธ์แบรนด์ที่ดีเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค ความแตกต่างระหว่างการตลาดและการสร้างแบรนด์คือ การคิดการสร้างมูลค่าและการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาด การตลาดคือการคิดราคาจากมุมมองของบริษัท มูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ เช่น ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาสมเหตุสมผล  ดังนั้นการสร้างมูลค่าสินค้าต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยการเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย ส่วนการสร้างแบรนด์เป็นการคิดราคาจากมุมมองของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความต้องการ อารมณ์ และแรงบันดาลใจของตัวเอง สร้างมูลค่าโดยการกระตุ้นการจดจำและความภักดีต่อแบรนด์


วิธีสร้างแบรนด์

    กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
    กำหนดพันธกิจของคุณ
    กำหนดคุณค่า คุณสมบัติ และประโยชน์
    สร้างภาพลักษณ์
    ค้นหาน้ำเสียงของแบรนด์
    ทำการตลาด

เมื่อวางแนวคิดและการตลาดเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาก็คือการเฟ้นหาห้องทดลองและโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สิ่งสำคัญก่อนวางขายสินค้าจริงคือการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริงก่อนวางขาย ในบางครั้งเนื้อครีมที่คิดไว้ตามคอนเซ็ปต์อาจจะไม่ตรงตามความต้องการ 100% เนื่องจากการทดลองขึ้นสูตรจะมีข้อจำกัดของคุณสมบัติวัตถุดิบ จนอาจต้องมีการวิจัยและพัฒนาที่ใช้เวลานาน

ดังนั้นการเลือกโรงงานผลิตจึงต้องหาที่ที่มีนักวิจัยและพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการคิดค้นสูตรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคุณ และทุกสูตรมีการทดสอบ In house และ Ex house เห็นผลและปลอดภัย ซึ่งหนึ่งในหัวใจหลักของการทำแบรนด์เครื่องสำอางให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ "คุณภาพของสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ใช้แล้วเห็นผลจริง"


มาตรฐานการผลิตที่โรงงานควรมี

1.CERTIFICATE OF MANUFACTURER

2.ASEAN GMP

3.ISO 22716

คุณภาพ 3 มาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ มีความโปร่งใสในการตรวจสอบ เสริมสร้างความเชื่อมั่นของแบรนด์และความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์มีบทบาทอย่างมากในการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากคุณภาพสินค้าที่ดีแล้ว บรรจุภัณฑ์ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดึงดูดตลาด บรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงามและแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในตลาด จะดึงดูดสายตาลูกค้าได้เป็นอย่างดี การลงทุนในบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์นี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ลูกค้ามองเห็นได้ในทันทีจึงยิ่งต้องใส่ใจในการเลือกวัสดุในการผลิตและการออกแบบที่ดึงดูดใจและเงินในกระเป๋าลูกค้า


ชนิดของวัสดุบรรจุภัณฑ์

    บรรจุภัณฑ์กระดาษ นำมาใช้ในส่วนของการทำกล่องใส่สินค้า
    บรรจุภัณฑ์พลาสติก มีความนิยมสูงมาก เนื่องจากรักษาคุณภาพของเนื้อครีมได้ดี ขึ้นรูปได้ง่าย แต่อาจไม่ถูกใจนักสิ่งแวดล้อมนักเพราะย่อยสลายไม่ได้ตามธรรมชาติ
    บรรจุภัณฑ์ไม้ เหมาะสำหรับแนวคิดที่มีความเป็นธรรมชาติสูง ดูมีความอ่อนโยนและปลอดภัย ส่วนมากจะใช้หุ้มชั้นพลาสติกอีกที เนื่องจากไม้จริงนั้นค่อนข้างควบคุมคุณภาพยาก
    บรรจุภัณฑ์แก้ว เป็นที่นิยมในสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมา ให้ความรู้สึกหรูหรา สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
    บรรจุภัณฑ์โลหะ วัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ เหล็กและอลูมิเนียม เป็นวัสดุที่ทนต่อความร้อน สามารถปกป้องสินค้าที่อยู่ภายในได้ดี ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภทที่มีวิธีการใช้อย่างเฉพาะ เช่น สเปรย์ที่ต้องมีการอัดแก๊ส




การกระจายสินค้าคือการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสถานที่จำหน่ายสินค้าตามที่กำหนดไว้และส่งต่อให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้านั่นเอง จะต้องให้ความสำคัญกับสถานที่จัดเก็บสินค้าและการขนส่งเป็นอย่างมาก เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนถึงมือลูกค้า และยิ่งสินค้ามีความต้องการมาก การขนส่งจะต้องมีความรวดเร็ว เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าเร็วที่สุด เป็นอีกหนึ่งจุดที่สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ที่มีความรวดเร็วอย่างมาก แต่การขายสินค้าหน้าร้านหรือขายออนไลน์อาจทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักไม่เพียงพอ คุณจะต้องทำการโปรโมทสินค้าด้วย และเมื่อถึงเวลาประกาศให้โลกรู้! เผยแพร่สินค้าของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเพจ Facebook, Twitter, Instagram, Line Official, หรือ TikTok จากนั้นติดต่อกับ Influencer (ผู้มีชื่อเสียงหรือผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์)

เพื่อทำการรีวิวสินค้าของคุณ รวมไปถึงบล็อกเกอร์ด้านความงาม แบรนด์ของคุณจะได้เป็นที่รู้จักในตลาดได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง



เริ่มการสร้างแบรนด์เครื่องสำอางต้องรู้จัก 5 สิ่งนี้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/