ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: มลภาวะเป็นพิษทางเสียง ทำให้ชีวิตเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง?  (อ่าน 155 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 419
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น โดยทั่วไปมักได้รับเสียงที่เป็นพิษกับชีวิตตัวเองอยู่แทบจะตลอดเวลา อาทิ เสียงรถบนท้องถนน เสียงจากการก่อสร้าง หรือเสียงประกาศจากย่านธุรกิจการค้า แต่ทว่าเสียงเหล่านั้นอาจไม่ได้ดังมากพอและนานพอที่จะทำให้เราได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่สำหรับวิถีชีวิตของใครอีกหลายคน อย่างเช่นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม บ่อยครั้งพวกเขาก็มักทนทำงานกับเสียงที่ดังเกินมาตรฐานนานเกินไปจนทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงอันตรายจากมลภาวะเป็นพิษทางเสียง เราจะพาไปดูกันชัดๆ ว่า อันตรายที่เกิดจากเสียงนั้น มีอะไรบ้าง และมีระดับความรุนแรงอย่างไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรา
 

1. ร้ายแรงที่สุด คือ หยุดความสามารถในการได้ยิน

“Hearing Loss” หรือ “ภาวะสูญเสียการได้ยิน” คือ อันตรายที่รุนแรงที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้กับใครก็ตามที่ได้รับเสียงดังเกินมาตรฐานมากนานเกินไป ซึ่งถ้าหากเราได้ยินเสียงที่มีความดังเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้ความสามารถในการได้ยินเสียงเบาๆ นั้นลดน้อยลง เพราะขอบเขตระดับเสียงของการได้ยินถูกเลื่อนสูงขึ้นตามเสียงดังที่ได้รับ โดยอาการนี้จะเรียกว่า หูตึงชั่วคราว ซึ่งเราจะรู้สึกหูอื้อชั่วขณะ และจะกลับเป็นปกติได้ แต่กลับกันหากเรายังได้รับเสียงดังมากๆ นั้นอยู่ จะทำให้มีโอกาสสูญเสียประสิทธิภาพการได้ยินอย่างถาวรได้ หรือเกิดเป็นอาการ “หูตึงถาวร” ซึ่งหากเป็นแล้วล่ะก็จะไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้ ทั้งนี้ ความถี่ของเสียงที่ทำให้มีเราหูตึงถาวรได้นั้น คือ ความถี่ในช่วงประมาณ 4,000 Hz

 

2. สื่อสารไม่เข้าใจ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะของมลพิษทางเสียง ก็คือ การที่เสียงดังขัดขวางเราไม่ให้ได้ยินเสียงที่เราต้องการได้ยิน เพราะการที่คนเราต้องจำแนกเสียง และทำความเข้าใจเสียงๆ หนึ่ง ท่ามกลางเสียงอื่นๆ ที่ดังกว่า เป็นเรื่องที่ยาก จึงทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารลดลง อันนำไปสู่การทำงานผิดพลาดที่อาจส่งผลเสียอื่นๆ ตามมาได้


3. รบกวนการนอนหลับ ลดระดับความสุขในชีวิต

การพักผ่อนไม่เพียงพอ คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรม และถูกโรคแทรกแทรงได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เราเสี่ยงต่อการหลับในระหว่างเดินทางหรือขับรถ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งจากผลวิจัยสรุปโดยชัดเจนว่า ระดับความดังของเสียง ความถี่เสียง นั้น มีผลโดยตรงที่ทำให้คนเรานอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท ดังนั้น การจัดให้ห้องนอนสามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด

 

4. ระบบการทำงานร่างกายผิดเพี้ยนไป ทำให้เสี่ยงภัยต่อโรคร้าย

เนื่องจากเสียงมีความสัมพันธ์ต่อร่างกายคนเราโดยตรงดังที่กล่าวไปแล้วว่า ทำให้หูตึง ทำให้นอนไม่หลับ ทั้งนี้หลายคนอาจไม่ทราบว่ามลภาวะทางเสียงนั้นสามารถส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกายเราได้ด้วยเช่นกัน โดย เสียงที่ดังเกินมาตรฐานนั้น จะส่งผลกระทบต่อระบบหมุนเวียนโลหิต ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และการหดหรือบีบตัวของลำไส้ ฯลฯ ซึ่งหากเรายังใช้ชีวิตโดยปล่อยให้เสียงดังนั้นอยู่กับเรา ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายก็จะค่อยๆ ผิดเพี้ยนไปจนนำไปสู่การเจ็บป่วยไข้ได้ในที่สุด


5. สุขภาพจิตเสียหาย ความเครียดไม่คลี่คลายจนเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

เวลาเราได้ฟังเพลงแนวที่เราไม่ชอบแล้ว รู้สึกรำคาญและหงุดหงิดฉันใด การได้ยินเสียงที่หัวใจไม่พึงอยากได้ยินก็ทำให้อารมณ์เราไม่ดีและมีความเครียดเกิดขึ้นได้ฉันนั้น ซึ่งเมื่อยิ่งต้องทนทำงานใช้ชีวิตอยู่กับเสียงที่เป็นมลพิษด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เราสะสมความเครียดมากขึ้น จนทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ และใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นปกติ โดยอาจทำให้นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิทำงาน ทำให้ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะนี้ติดต่อกัน สุขภาพจิตก็จะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงและนำไปสู่การเจ็บป่วยทางร่างกายได้ในที่สุดนั่นเอง

ปัญหาเสียงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนเรา ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข เพราะหากปล่อยไว้ โดยเฉพาะสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดังในบริเวณพื้นที่ ก็จะทำให้พนักงาน บุคลากร รวมถึงผู้คนในชุมชนใกล้เคียงนั้นได้รับความรำคาญใจ และได้รับอันตรายที่เกิดขึ้นจากเสียง อันนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างไม่สงบสุข การฟ้องร้องทางกฎหมาย และการดำเนินธุรกิจ ดำเนินชีวิตที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีความสุขได้



ฉนวนกันเสียง: มลภาวะเป็นพิษทางเสียง ทำให้ชีวิตเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/