ผู้เขียน หัวข้อ: ชุดแม่บ้าน: ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม มีกี่ประเภทและมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร  (อ่าน 156 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 419
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
เมื่อพูดถึงผ้าที่ใช้สำหรับทำชุดยูนิฟอร์ม เราลองมาจำแนกประเภทของชนิดผ้าและลักษณะแบบคร่าวๆกันดูว่า “ผ้า” ที่เรารู้จักและเป็นที่นิยมตัดชุดพนักงานมีกี่ชนิดและมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง

   
1. ผ้าฝ้าย (cotton)
    เป็นใยเซลลูโลสได้จากดอกของฝ้าย ผ้าที่ผลิตจากฝ้ายพันธุ์ดีจะมีเส้นใยยาวและทนทาน ผิวของผ้าจะเรียบเนียน คุณภาพของผ้าฝ้ายขึ้นอยู่กับพันธุ์และความเรียบของเส้นใย ใยฝ้ายเองไม่ใคร่แข็งแรงนัก แต่เมื่อนำมาทอเป็นผ้า จะได้ผ้าที่แข็งแรง ยิ่งทอเนื้อหนา-แน่นจะยิ่งแข็งแรง ทนทาน ดูดความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับทำชุดพนักงานที่ต้องการให้มีการระบายอากาศได้ดีและไม่ติดไฟง่าย เช่นชุดกุ๊กที่ต้องอยู่กับความร้อน ผ้าฝ้ายเนื้อบางถึงเนื้อหนาปานกลาง ใช้เป็นชุดสวมในฤดูร้อนจะรู้สึกเย็นสบาย คุณลักษณะเด่นของผ้าฝ้ายคือ
        ยับง่าย รีดให้เรียบได้ยาก แต่ปัจจุบันมีการตกแต่ง (Finish) ทำให้ผ้าไม่ใคร่ยับและรีดให้เรียบได้ง่ายขึ้น
        ซักได้ด้วยผงซักฟอก ซักรีดได้ที่อุณหภูมิสูง
        แมลงไม่กินแต่จะขึ้นราหากมีความชื้นมาก
   
2. ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า CVC หรือ T/C หรือ TC
    เป็น ผ้าที่มีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ และนำเนื้อฝ้ายเข้ามาผสมรวมด้วย คุณสมบัติก็จะอยู่กลางระหว่างผ้า cotton และผ้า TK ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรู เนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้า จึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้า จะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK) ผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK เป็นผ้าที่มีส่วนผสมหลักเป็นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้าจะมีลักษณะมัน คุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตก แต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อน เนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด ผ้า TK นิยมนำมาผลิตเป็นชุดยูนิฟอร์มพนักงาน ประเภทเสื้อโปโล
   
3. ผ้าโพลิเอสเตอร์ (Polyester)
    นิยมผลิตเป็นชุดยูนิฟอร์มสำหรับผู้หญิง รีดง่ายไม่ยับง่าย ดูแลรักษาง่าย มักสวมใส่ในออฟฟิต ให้ห้องปรับอากาศ เพราะผ้าระบายอากาศได้ไม่ดีนะก เส้น ใยยาวมีลักษณะนุ่ม เงามัน เส้นใยสั้นมีลักษณะคล้ายฝ้าย และขนสัตว์ จึงเป็นเส้นใยที่ใช้เลียนแบบ และผสมกับเส้นใยอื่นได้ดี ใช้มากในวงการอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ดูดความชื้นได้น้อย น้ำหนักเบา ไม่ใคร่ยับ รีดจับจีบถาวรได้ มักผลิตเป็นผ้าประเภท Wash and Wear คือ รีดเพียงเล็กน้อย หรือไม่จำเป็นต้องรีด ปัญหาที่พบคือ ถ้าผลิตจากใยสั้นใช้ไปแล้วจะเป็นขุย เมื่อเผาจะละลายเป็นยางสีดำ ถ้าเผาจนสิ้นสุดเถ้าบางส่วนจะกรอบ
        ยืดหยุ่นและคงรูปได้ดี
        ซักง่าย – แห้งเร็ว – ไม่ต้องรีด
        เหนียวมาก แต่ทนความร้อนสูงไม่ได้ ต้องระวังเมื่อซีกด้วยเครื่องที่มีระบบน้ำร้อน และการรีด ถูกไฟไม่ได้ แม้แต่ขี้บุหรี่หรือลูกไฟ ก็จะละลายเป็นรูทันที
        ไม่ดูดความร้อน
   
4. ผ้าขนสัตว์ (wool)
    ไม่่นิยมนำมาผลิตเป็นชุดยูนิฟอร์มมากนักเนื่องจากมีราคาที่สูงแต่หากต้องการความแตกต่างก็สามารถผลิตได้ เนื้อผ้าผลิตจากขนสัตว์หลายชนิด เช่น แกะ แพะ อูฐ และกระต่าย แต่ที่ผลิตมากที่สุดได้แก่ขนแกะ ขนสัตว์จะให้ความอบอุ่นเพราะไม่นำความร้อน ดูดความชื้นได้ดีจึงสามารถถ่ายเทความชื้นจากร่างกาย หรือบรรยากาศทำให้ไม่เหนะหนะเวลาสวมใส่ เมื่อถูกความร้อนและชื้น ผ้าขนสัตว์จะเชื่อมติดกันเป็นแผ่น หดทุกครั้งเมื่อเปียก (Progressive Shrinkage) จึงไม่แนะนำให้ซักรีดเอง ควรส่งร้านที่มีความชำนาญในการซักรีดผ้าขนสัตว์ เว้นเสียจากจะมีป้ายที่ติดมากับเสื้อบอกไว้ว่า ซักรีดได้ (Washable) ผ้าขนสัตว์บางชนิดจะตกแต่งกันหด (Shrinkage Control) และป้องกันไม่ให้เชื่อมติดกันเมื่อซักรีด วิธีการดูแลรักษาอย่างง่าย คือใช้แปรงนุ่ม ๆ แปรงฝุ่นออกทุกครั้งหลังการใช้ ถ้าถูกน้ำให้สบัดออกอย่าแปรงขณะผ้าเปียก แขวนในที่มีอากาศโปร่ง อย่าใช้เสื้อผ้าชุดเดียวติดต่อกันหลายวัน เพราะเมื่อขนสัตว์ถูกแรงถูไถไปมานาน ๆ จะแข็งเป็นมัน บางชนิดขนจะหลุดถ้าจะเก็บผ้าขนสัตว์ไว้ ควรซักแห้ง เก็บในถุงพลาสติคผนึกให้สนิท มอด (Moth) ชอบกินขนสัตว์มากผ้าทอขนสัตว์จะผลิตจากด้าย 2 ประเภท ทำให้คุณสมบัติและราคาต่างกันมากผ้าที่ผลิตจากด้าย woolen เรียก woolen fabric ทำจากเส้นใยที่ผ่านการสางครั้งเดียว เส้นใยมีความสั้น ยาว ปนกัน ผ้าค่อนข้างหยาบ บริเวณที่ถูกน้ำหนักกดทับเช่น ศอก เข้า ก้นมักจะเป็นโป่งเป็นถุงและเรียบเป็นมันผ้าที่ผลิตจากด้าย Worsted เรียก Worsted Fabric ทำจากเส้นใยที่ผ่านการสางสองครั้ง เส้นใยเล็ก ยาว ละเอียด ด้ายเข้าเกลียวแน่น ผ้าเนื้อเบา ละเอียดราคาแพง กว่า Woolen มาก
   
5. ผ้าสแปนเด็กซ์ (Spandex)
    เป็นใยยางสังเคราะห์ที่รู้จักกันในนาม Lycraดึงยืดได้ 6-7 เท่าของความยาวเดิม ต้านทานแรงดึงได้สูง
    – คุณสมบัติของผ้าชนิดนี้คือ น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นได้ดี เมื่อสวมใส่แล้วสามารถยืดขยายออกได้ถึง 500% และสามารถคืนตัวกลับมาในสภาพเดิม และสามารถระบายเหงื่อได้ดีอีกด้วย
    – นอกจากคุณสมบัติที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น กางเกงจักรยานที่ตัดเย็บจากผ้าสแปนเด็กซ์นี้ยังช่วยต้านแรงลมได้ดี และยังช่วยป้องกันผิวหนังจากการเสียดสีกับอานจักรยาน หรือตัวถัง (Frame) ได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผ้าชนิดนี้ ยังช่วยระบายเหงื่อออกจากผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือผดผื่น เมื่อสวมใส่เป็นเวลานานอีกด้วย
   

6. ผ้าไหม (silk)
    เป็น เส้นใยโปรทีน ได้จากรัง (Cocoon) ของไหม ผ้ามีความมันนุ่มเป็นเงา ไม่ใคร่ยับ คงรูปร่างได้ดีเหมาะสำหรับตัดชุด ดูดความชื้นได้ดี มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิได้ดี จะรู้สึกเย็นสบายในหน้าร้อน และจะอบอุ่นในหน้าหนาว การซักผ้าไหม ถ้าจะให้คงความเงามัน คงรูปร่างควรซักแห้ง ไหมบางชนิดซักได้ด้วยมือในน้ำสบู่อย่างอ่อน (ผงซักฟอกจะทำลายความเงามันของไหม)ใช้ผ้าหมาด ๆ ปิดทับขณะรีด เผาไฟจะหดหนีไฟ พองตัว ติดไฟได้ เถ้านุ่ม
   
6.ไนลอน (Nylon)
    Dr. W. H. Carothers แห่งบริษัท Du Pont อเมริกา ค้นพบเมื่อ 1930 ครั้งแรกได้เป็นเส้น ๆ นำมาทำแปรงสีฟัน ในปี ค.ศ. 1940 ผลิตเป็นถุงน่องสตรี หลังจากนั้นได้พัฒนาเป็นเสื้อผ้าและของใช้มากมายหลายชนิดเส้นใยมีความเหนียว แข็งแรงทนทานมาก ยืดหยุ่นง่าย เมื่อถูกไฟจะละลาย ไม่ใคร่ไหม้ ออกจากไฟจะดับ เถ้าเป็นก้อนแข็งบีบไม่แตก
   
7. ผ้าทอ (woven fabrics)
    นิยมนำมาผลิตเป็นชุดยูนิฟอร์มประเภทเสื้อเช้ิต เป็น ผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอโดยใช้เครื่องทอ (weaving loom) โดยมีเส้นยืน (warp yarn) และเส้นพุ่ง (filling or weft yarn) ที่ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน และจุดที่เส้นทั้งสองสอดประสานกัน (interlacing) จะเป็นจุดที่เส้นด้ายเปลี่ยนตำแหน่งจากด้านหนึ่งของผ้าไปด้านตรงข้าม การทอในปัจจุบันมีการพัฒนา จากการทอด้วยมือ (hand looms) ไปเป็นการใช้เครื่องจักรในการทอ โดยใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกัน เช่น Air-jet loom, Rapier loom, Water-jet loom, Projectile loom, Double-width loom, Multiple-shed loom, Circular loom, Triaxial loom
   
8. ผ้าถัก (knitted fabrics)
    เป็น ผ้าที่เกิดจากการใช้เข็ม (needles) ถักเพื่อให้เกิดเป็นห่วงของด้ายที่มีการสอดขัดกัน (interlocking loops) โดยจะมีเส้นที่อยู่แนวตั้ง (Wales) และเส้นที่อยู่ในแนวนอน (courses)
   
9. ผ้าลินิน (linen)
    ไม่นิยมนำมาผลิตชุดยูนิฟอร์มเพราะมีราคาค่อนข้างสูง ทำ จากต้น flax สามารถนำมาผลิตเป็นผ้าที่มีเนื้อบางมาก ๆ จนถึงผ้าเนื้อหนามาก เป็นเส้นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด ใช้จนผ้าสึกบางจึงขาด ผ้ามีความเงามัน ผิวเรียบแข็ง ดูดซับน้ำได้ดีคุณลักษณะเด่นของผ้าลินินคือ
    – ยับง่าย รีดให้เรียบได้ยาก ควรตกแต่งกันยับ
    – ซักด้วยผงซักฟอก รีดขณะชื้นที่อุณหภูมิสูง
    – ถ้าเก็บผ้าลินินไว้นาน ๆ ต้องม้วนใส่แกนเก็บไว้ เพราะถ้าพับรอยพับจะหัก

ชุดแม่บ้าน: ผ้าตัดชุดยูนิฟอร์ม มีกี่ประเภทและมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://uniformdeluxe.com/