ผู้เขียน หัวข้อ: การให้ อาหารสายยาง ทางจมูกกับทางหน้าท้องต่างกันอย่างไร  (อ่าน 116 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 370
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
การให้อาหารทางสายยาง คือ การให้อาหารลงไปยังกระเพาะอาหารโดยไม่ผ่านการกลืน อาหารที่ให้มักจะเป็นอาหารปั่นผสม อาหารสุขภาพ ที่สามารถผ่านกระบวนการย่อยได้ง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน คือครบ 5 หมู่นั่นเอง การให้อาหารในแต่ละวันจะต้องคำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและปริมาณอาหารในแต่ละวัน ซึ่งการให้อาหารทางสายยางจึงเป็นเป็นอย่างมากในผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการขาดสารอาหาร


ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ นอกจากนี้อาหารปั่นผสมจะต้องมีความสะอาด ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย และมีสารอาหารที่ครบถ้วน หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่สะอาด มีคุณภาพ ก็จะส่งผลดีต่อร่างกาย หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่สด หรืออาหารที่ไมีคุณภาพ อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนได้ หรือถึงขั้นร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่ออาการป่วยของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้การให้อาหารทางสายยาง มีอยู่ สองรูปแบบที่มักเห้นได้ทั่วไปคือ การให้อาหารทางสายยางทางจมูกและทางหน้าท้อง ซึ่งสองวิธีดังกล่าวมีการให้อาหารทางสายยางที่ไม่ต่างกันมาก จะต่างก็เฉพาะตำแหน่งของการให้อาหาร

การให้อาหารทางสายยางทางจมูกนั้น มักจะเห็นได้บ่อย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองตามปกติ เช่น มีอาการเจ็บคอมากเวลากลืนอาหาร ภาวะคออักเสบขั้นรุนแรง มีแผลร้อนในหลายๆ รู้สึกเจ็บแผลจนรับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทดแทนโดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำแต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานหลายวัน ก็ต้องให้อาหารทางสายยาง โดยสายยางให้อาหารนั้นจะถูกสอดผ่านจากรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งผ่านไปในโพรงจมูกวกลงไปในคอหอย ไปยังหลอดอาหาร จนกระทั่งปลายสายยางอยู่ในตำแหน่งของกระเพาะอาหาร


และเนื่องจากสายยางนี้มักจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารของผู้ป่วยด้วย ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ทั้งนี้การให้อาหารทางสาย โดยผ่านจมูกก็มีข้อเสียคือ สายยางให้อาหารก่อให้เกิดจมูกหรือไซนัสอักเสบได้ เนื่องจากให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุจมูก และอาจจะทำให้เกิดคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบได้ ตัวสายยางอาจไประคายเคืองที่รูเปิดของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก และก่อให้เกิดหูอื้อหรือก่อให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติ เนื่องจากสายยางให้อาหารนั้นค้ำอยู่ในหลอดอาหารนั่นเอง

ต่อมาการให้อาหารทางสายยาง โดยการเจาะบริเวณหน้าท้องโดยสอดสายยางให้อาหารลงไปที่กระเพาะอาหารโดยตรง การใส่สายยางให้อาหารบริเวณหน้าท้อง จะใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารช่วยนำสายยางให้อาหารเจาะผ่านออกมาทางหน้าท้อง  วิธีนี้จะง่าย  สะดวก รวดเร็วและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ แต่ผู้ป่วยจะเกิดรอยแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง และการให้อาหารทางสายยางบริเวณหน้าท้องอาจจะเกิดปัญหาในระหว่างที่ให้อาหารทางสายยาง ปัญหาที่มักพบได้บ่อยคือ การอุดตันของสายยางให้อาหารอาจจะเกิดจากการบดยาไม่ละเอียด


การให้อาหารปั่นผสมที่มีความหนืดเกินไป หรือการให้น้ำตามหลังการให้อาหาร หรือ การบริหารยาไม่ดีพอ ซึ่งถ้าเกิดการอุดตันอาจลองใช้น้ำอุ่นค่อยๆล้างและลองดูดด้วยกระบอกให้อาหาร ถ้ายังอุดตันให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการแก้ไขต่อไป เพราะฉะนั้น การให้อาหารทางสายยางทางจมูกแบะหารให้อาหารทางสายยางบริเวณหน้าท้อง มีความต่างกันด้วยวิธีการสอดใส่สายยางให้อาหาร การให้อาหารทางสายยาวบริเวณหน้าท้องจะง่ายกว่า แต่กผ้จะทำให้ผู้ป่วยมีรอยแผลเป็น ส่วนการให้อาหารทางสายยางทางจมูก ก็คือว่าเป็นวิธีที่ต้องใช้ความชำนาญในเรื่องของสอดใส่สายยางให้อาหาร เพราะหากทำพลาดก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้

การให้ อาหารสายยาง ทางจมูกกับทางหน้าท้องต่างกันอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/