ผู้เขียน หัวข้อ: ชุดแม่บ้าน: ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเสื้อฟอร์มพนักงาน  (อ่าน 161 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 410
  • โพสประกาศขายในไทยฟรี
    • ดูรายละเอียด
เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์ม (Uniform) คือ เสื้อผ้าที่บริษัทกำหนดให้พนักงานของตนเองใส่ในวันและเวลาทำงาน เพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงาน และยังช่วยแสดงถึงอัตลักษณ์ขององค์กรเพราะส่วนใหญ่แล้วมักต้องปักหรือสกรีนชื่อและโลโก้ของบริษัทลงไปบนเสื้อด้วย ส่วนสีของเสื้อหรือชุดยูนิฟอร์มหลายบริษัทก็มักจะเลือกสีที่เป็นCI (Company Identity) ของบริษัทเป็นส่วนใหญ่


จุดกำเนิดและประวัติศาสตร์ของ “เสื้อฟอร์มพนักงาน”

คำว่ายูนิฟอร์ม (Uniform) ถูกนิยามในพจนานุกรมอ็อกซ์ฟอร์ดว่า “เสื้อผ้าที่โดดเด่นซึ่งสวมใส่โดยสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานเดียวกัน หรือโดยเด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนบางแห่ง ซึ่งมีแนวคิดจากสิ่งเดียวคือความสามัคคีและความรู้สึกร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ซึ่งในองค์กร ห้างร้านหรือบริษัทต่างๆ ส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกัน จุดประสงค์ของการมีเครื่องแบบองค์กร ก็คือการรวมพนักงานให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่ยอดเยี่ยม

เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์ม ไม่ได้มีบทบาทแค่อัตลักษณ์ขององค์กรและการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพนักงาน แต่ยังสามารถบ่งบอกถึงอาชีพเฉพาะทาง เช่น หมอ, พยาบาล, ทหาร, ตำรวจ, เชฟ นักบินหรือแอร์โฮสเตส ฯลฯ นอกจากนั้นยังบอกถึงบทบาทเฉพาะของแต่ละตำแหน่งของบริษัท ตัวอย่างเช่น ช่างเทคนิคหรือเจ้าหน้าที่คลังสินค้า อาจจะต้องใส่ชุดหมี, เสื้อกักหรือแจ็คเก็ตที่มีช่องเสียบอุปกรณ์ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ทำ

รู้หรือไม่ว่า? เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์ม สำหรับให้พนักงานเริ่มมีใช้กันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500–1800 โดยเป็นเครื่องแบบของคนรับใช้ในราชสำนักยุโรป โดยสี รูปทรงและการตกแต่งในเสื้อผ้าจะบ่งบอกว่าเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านใด เครื่องแบบนี้ยังทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของยศและความแตกต่างของนายจ้างอีกด้วย แตกต่างจากนายจ้าง ซึ่งสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกสถานะ สังกัด หรือยศตำแหน่ง จะมีตราหรือเครื่องราชฯ ที่ประดับอยู่บนชุดให้เห็นเด่ดชัด นั่นเอง

ในช่วงศตวรรษที่ 16 : บุรุษไปรษณีย์สร้างเครื่องแบบของพวกเขาเองโดยมีเสื้อโค้ทสำหรับเดินทางแล้วติดตราบนหน้าอก เป็น เสื้อฟอร์มพนักงาน พร้อมหมวกที่มีตราประจำเมืองหรือราชสำนักที่พวกเขารับใช้ คล้ายกับทหารและตำรวจในยุคนั้น จากนั้นในช่วงปีค.ศ.1880 พนักงานของ Thomas Cook ในตำแหน่งล่ามของบริษัททัวร์เก่าแก่กว่าร้อยปีของอังกฤษ ใช้ชุดยูนิฟอร์มเป็นเสื้อโค้ทยาวสีน้ำเงินเข้มพร้อมหมวกแหลมสีดำขณะทำงานในสถานีรถไฟทั่วสหราชอาณาจักร ยุโรป อเล็กซานเดรีย เบรุต และนิวยอร์ก เมื่อเวลาผ่านไปเครื่องแบบพนักงานก็ได้รับปรับให้เข้ากับสีทางธุรกิจของ Thomas Cook พร้อมสไตล์ที่ดูสมาร์ทขึ้น

ในช่วงศตวรรษที่ 19 : ในปีค.ศ. 1925 บริษัทขนส่งสินค้าและไปรษณีย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาชื่อ UPS ได้เริ่มใช้เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์ม โดยใช้เสื้อแจ็คเก็ตสีน้ำตาลที่เป็นหนึ่งในสีสำคัญของตราสัญลักษณ์บริษัท พร้อมหมวกแก๊ปสไตล์ตำรวจ และชุดเครื่องแบบนี้ถูกใช้มานานกว่า 40 ปี ช่วงปีค.ศ. 1950 - 1960 แอร์โฮสเตสหรือในอดีตถูกเรียกว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีการปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย จากเดิมที่สวมชุดกระโปรงที่มีสีเรียบๆ จนเกือบจะดูเหมือนเครื่องแบบพยาบาลรุ่นเก่า ปรับเปลี่ยนมาให้ชุดสำหรับแอร์โฮสเตสมีสีสันและมีความแฟชั่นมากขึ้น โดยมีหมวกแบบ pillbox ใส่คู่กับรองเท้าบูท จนกระทั่งปลาย ค.ศ. 1970 เครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินกลายเป็นจุดสนใจของนักออกแบบชื่อดังระดับโลก อย่าง Christian Lacroix, Pierre Cardin และ Dior ต่างก็สร้างเครื่องแบบให้กับ Air France Ralph Lauren หรือ Vivienne Westwood ออกแบบเสื้อผ้าสำหรับองค์กรของ Virgin Atlantic

เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน : ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับพนักงานที่เป็นสิ่งจำเป็นในโลกธุรกิจ การสร้างความประทับใจแรกของ เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์มคือภาพลักษณ์ของแบรนด์ องค์กรหรือบริษัทที่จะต้องถ่ายทอดผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของพนักงานชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขายหรือพนักงานต้อนรับลูกค้า ควรมีเครื่องแบบที่เหมาะสม สุภาพ มีเอกลักษณ์ที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้ คือสิ่งสำคัญประการแรกของการผลิตเครื่องแต่งกายของพนักงานบริษัท

ข้อมูลจากการสำรวจ Laws of Attraction จาก JobsDB พบว่า ในสายงานธนาคาร พนักงานให้ความสำคัญกับ เสื้อฟอร์มพนักงาน อยู่ที่ 21.6% เช่นเดียวกับธุรกิจ การจัดการทรัพยากรบุคคล ธุรกิจที่ปรึกษาทรัพยากรบุคคล ที่พนักงานให้ความสำคัญกับ ชุดฟอร์มพนักงานที่ 20.1% ต่างจากธุรกิจโฆษณา/ประชาสัมพันธ์/การตลาด ที่ให้ความสำคัญกับชุดฟอร์มพนักงานเพียง 7%

ความสำคัญและประโยชน์ของการมี “เสื้อฟอร์มพนักงาน”

1. สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร
เพราะการใส่ชุดยูนิฟอร์มที่มีรูปแบบเดียวกัน มีชื่อและตราสัญลักษณ์ของบริษัทเดียวกัน ไม่ว่าพนักงานจะมีสถานะยากดีมีจน จบจากสถาบันการศึกษาที่ไหนมา ต่างก็ต้องใส่เครื่องแบบขององค์กรที่เหมือนกัน ทำให้เกิดความรู้สึกสมัครสมานสามัคคีกันได้ง่ายขึ้น

2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
ส่วนใหญ่ เสื้อฟอร์มพนักงาน จะมีรูปทรงและดีไซน์ที่สุภาพและค่อนข้างเป็นทางการ เมื่อพนักงานใส่เครื่องแบบของบริษัทไปพบปะกับลูกค้า หรือลูกค้ามีการเข้ามาเยี่ยมชมบริษัท ก็จะเห็ยความเป็นระเบียบสุภาพของพนักงานในองค์กรของคุณได้

3. เป็นสวัสดิการที่ดีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของพนักงาน
แน่นอนว่าการทำงาน 5-6 วันต่อสัปดาห์ หากพนักงานต้องแบบรับค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าที่ดูดีและเหมาะสมสำหรับใส่ในวันทำงาน ก็คงจะเสียเงินจำนวนไม่น้อยในแต่ละเดือน ฉะนั้นการสวัสดิการของบริษัทที่เป็น เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์มให้กับพนักงานใส่ในวันและเวลาที่ปฏิบัติงาน ย่อมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าใส่ทำงานของพนักงานได้

4. สามารถสร้างการรับรู้จดจำให้แก่แบรนด์หรือองค์กร
เมื่อพนักงานในองค์กรต้องออกไปพบกับลูกค้าข้างนอกบริษัท หรืองานอีเวนท์ ออกบู๊ทของแบรนด์หรือบริษัท การใส่ชุดยูนิฟอร์มที่มีสีและโลโก้ของบริษัท ก็จะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์แก่ลูกค้าของคุณได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์ของเรากับแบรนด์อื่นในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดียวกันได้อีกด้วย

5. ช่วยยกระดับความปลอดภัยในการทำงาน
บางตำแหน่งงานเช่น พนักงานฝ่ายผลิต, พนักงานในคลังสินค้า หรือช่างเทคนิคต่างๆ เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดยูนิฟอร์มส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้มีประโยชน์ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ชุดเครื่องแบบที่สามารถกันไฟ, ความร้อนและไฟฟ้า หรือการใส่ชุดหมีหรือชุดช่างที่ถูกออกแบบมาให้สวมได้คล่องตัว มีแถบสะท้อนแสง และมีช่องกระเป๋าหลายช่องสำหรับใส่เครื่องมือเล็กๆ เพื่อเหมาะสมกับหน้างานได้ เป็นต้น


ชุดแม่บ้าน: ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเสื้อฟอร์มพนักงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://uniformdeluxe.com/